HOMEPAGE
วงในอาสาพาเหล่าออเจ้าย้อนเวลาตามหาเรื่องราวขนมไทยโบราณหากินยาก อีกหนึ่งมรดกล้ำค่าของสยามประเทศที่คนรุ่นใหม่ควรรู้จัก
• 11 มิ.ย. 2018 · โดย Hearbest Tastegood
ถ้าพูดถึงขนมไทยโบราณหลายคนอาจจะเคยผ่านตาจากละครพีเรียดทางทีวี หรือลองลิ้มชิมรสความหอมหวานตามร้านขนมไทยมาบ้างแล้ว อาทิเช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมลูกชุบ และอื่น ๆ แต่รู้หรือไม่ว่านั่นเป็นเพียงบางส่วนของขนมไทยในสมัยโบราณเท่านั้น อันที่จริงยังมีขนมไทยโบราณอีกหลายชนิดที่เรียกได้ว่าเป็น rare item ที่หากินยากในสมัยนี้ บอกชื่อไปบางคนอาจจะไม่เคยได้ยินด้วยซ้ำ เอาล่ะ! วันนี้วงในจะพาเหล่าทุกคนเดินทางย้อนเวลาไปพบกับขนมไทยโบราณหากินยากกัน ณ บัดนี้
1เกร็ดน่ารู้ของ “ขนมไทยโบราณ”
ขนมไทยถือเป็นมรดกอันล้ำค่าที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยในอดีตไม่ใช่คนทั่วไปที่จะสามารถกินได้ แต่จะกินได้ก็ต่อเมื่อมีงานนักขัตฤกษ์ หรืองานบุญสำคัญเท่านั้น ขนมไทยโบราณแต่ดั้งเดิมจะมีส่วนประกอบหลักแค่ 3 อย่าง ได้แก่ แป้ง กะทิ และน้ำตาลปี๊บซึ่งเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นและมีวิธีการทำขนมที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การนึ่งและการต้ม
โดยในสมัยก่อนมีประเพณีที่มีชื่อเสียงและเกี่ยวข้องกับขนมไทยโบราณนั่นคือประเพณีกินสี่ถ้วย คือการกินขนมไทยกับกะทิเรียกกันว่า “ขนมสี่ถ้วย” จัดเสิร์ฟมาในสำรับเดียวกัน โดยกินกับน้ำกะทิอบควันเทียนเพื่อเพิ่มความหวานและกลิ่นหอมละมุน นิยมกินกันในงานมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานแต่งงาน เนื่องจากมีความหมายที่ดีงาม ประกอบไปด้วย
- ไข่กบ (เม็ดแมงลัก) หมายถึง มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง
- นกปล่อย (ลอดช่อง) หมายถึง มีความรักลื่นไหล ไม่มีอุปสรรค
- นางลอย (ข้าวตอก) หมายถึง ความรักที่อยู่ในกรอบของประเพณีที่ดีงาม
- อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียวดำ) หมายถึง ตัวแทนความรักที่หนักแน่น ไม่หวั่นไหว
กระทั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับขนมไทยอีกครั้ง โดยครั้งนี้ “มารี ตองกีมาร์” ชาวโปรตุเกส ได้นำเอาวิธีการทำขนมไทยในแบบฉบับของชาวตะวันตกเข้ามาประยุกต์กับการทำขนมไทย และนำเอา “ไข่ไก่” ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญเข้ามาใช้ด้วย ซึ่งทำให้ได้ขนมไทยที่มีสีเหลืองทองชวนรับประทาน ที่จึงเป็นเหตุผลที่ในยุคนี้มีขนมชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ชื่อเรียกว่า "ทอง" อยู่มากมาย ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองม้วน เป็นต้น
2ชนิดของ “ขนมไทยโบราณ” หายาก
อันที่จริงแล้วนอกจากขนมไทยหลายอย่างที่เรารู้จักกันดี ไม่ว่าจะเป็นทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมลูกชุบ และขนมไทยอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งสามารถหากินได้ในปัจจุบัน ยังมีขนมไทยโบราณอีกหลายชนิดที่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันทั้งในเรื่องของรูปลักษณ์และรสชาติ ซึ่งรับรองว่าหากเอ่ยชื่อขึ้นมาหลายคนอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนก็เป็นได้ และนี่คือ 5 ขนมไทยโบราณหายากที่คนรุ่นใหม่ควรรู้จักเอาไว้
1. ทองพลุ
เป็นขนมที่นิยมใช้ในพิธีมงคลต่าง ๆ โดยคำว่า “ทอง” หมายถึงของที่มีค่า ส่วนคำว่า “พลุ” หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง โดยดัดแปลงมาจากขนมเอแคลร์ของฝรั่งเศสที่ใช้วิธีการอบนั่นเอง ลักษณะของทองพลุจะเป็นก้อนกลมคล้ายหยดน้ำ สีเหลืองทอง ด้านในเป็นโพรง และมีผิวเรียบ สามารถใส่ไส้เพิ่มได้ ในปัจจุบันร้าน บ้านสุริยาศัย มีจัดจำหน่ายขนมทองพลุให้คนรุ่นใหม่ได้ลิ้มลอง
2. สัมปันนี
เป็นขนมมงคลใช้ในพิธีแต่งงาน โดยมีความหมายคือ การเป็นที่รัก เมื่อรับประทานเข้าไป เนื้อขนมจะละลายในปากมีรสหวานและหอมกลิ่นควันเทียน รูปร่างคล้ายดอกไม้มีสีสันสวยงาม มีทั้งสูตรกรอบและนุ่มให้เลือกรับประทาน และเช่นเดียวกับทองโปร่ง ขนมไทยโบราณชนิดนี้สามารถหาซื้อได้ที่ร้าน ขนมไทยเก้าพี่น้อง
3. ขนมกง
บางคนเรียกว่า “ขนมกงเกวียน” เป็นขนมไทยโบราณที่มีลักษณะเป็นวงกลมและมีเส้นพาดผ่านคล้ายกับล้อของเกวียน ซึ่งสื่อความหมายถึงการมีความเป็นอยู่อย่างเป็นสุข เปรียบเสมือนให้คู่บ่าวสาวได้ใช้ชีวิตเคียงข้างกันด้วยใจคอที่หนักแน่น มีความรักให้กันตลอดไปเหมือนกงล้อเกวียน และเปรียบได้กับธรรมจักร ขนมสามารถหาได้ที่ ร้านขนมบ้านพลอยหวาน
4. ทองโปร่ง หรือ ขนมหน้านวล
เป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณที่ดัดแปลงมาจากขนมโปรตุเกสในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นอีกหนึ่งขนมที่มีความหมายมงคลเช่นกัน ลักษณะของทองโปร่งคือ รูปทรงคล้ายเรือ มีสีเหลืองนวล กรอบนอก และด้านในต้องโปร่งมีฟองอากาศของน้ำตาลสีเหลืองอมส้ม เมื่อรับประทานใหม่ ๆ จะมีน้ำตาลเยิ้มออกมา สำหรับขนมทองโปร่ง หรือขนมหน้านวลนั้นในปัจจุบันก็ยังมีร้านขนมไทยชื่อดังอย่าง ขนมไทยเก้าพี่น้อง จำหน่ายอยู่
5. พระพาย
เป็นขนมที่ใช้ในพิธีแต่งงาน ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดกับนํ้าดอกมะลิ ใส่สีต่าง ๆ เพื่อหุ้มไส้ที่ประกอบด้วยถั่วเขียวเลาะเปลือกที่บดละเอียด ผสมกับกะทิ และนํ้าตาลปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เมื่อหุ้มเสร็จแล้วนํามาวางบนใบตองที่ตัดเป็นกลม ๆ เมื่อนึ่งสุกแล้ว พรมด้วยหัวกะทิ เชื่อกันว่าแป้งข้าวเหนียวที่ใช้หุ้มไส้ หมายถึงความเหนียวแน่นมั่นคง และความหวานของไส้คือความรักอันแสนหวาน โดยหาซื้อขนมชนิดนี้ได้จาก ร้านบ้านใน
3เคล็ดลับ “ตัก เติม ตกแต่ง” ไอศกรีมกินคู่ขนมไทยโบราณหายาก
ได้ทราบข้อมูลความเป็นมา พร้อมชนิดของขนมไทยโบราณหายากกันไปพอสังเขปแล้ว ทีนี้มาดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากนำไอศกรีมสมัยใหม่รสชาติไทย ๆ อย่างรสเผือก และรสรวมมิตรมา “ตัก เติม ตกแต่ง” คู่กับขนมไทยโบราณ หน้าตาและรสชาติจะเป็นอย่างไร แค่คิดก็สนุกแล้ว
1. “ทองพลุ” จับคู่กับ “ไอศกรีมรสรวมมิตร”
เป็นรสชาติที่ดีเกินคาด เหมือนได้กินไอศกรีมกับขนมเอแคลร์ของฝรั่งเศสยังไงอย่างงั้นเลย โดยไอศกรีมรวมมิตรจะช่วยเพิ่มรสสัมผัสที่ลงตัว และเติมเต็มไส้หวาน ๆ พร้อมเนื้อของลอดช่องและขนุนเพิ่มความหนุบหนับเคี้ยวเพลินทำให้ทองพลุมีรสชาติทีดียิ่งขึ้น
2. “สัมปันนี” จับคู่กับ “ไอศกรีมรสเผือก”
ด้วยรสชาติหวานและมีกลิ่นหอมของขนมสัมปันนี เมื่อนำมารวมกับไอศกรีมรสเผือกจะยิ่งช่วยเพิ่มความเข้มข้นและรสสัมผัสที่ดีให้กับขนมเมื่อรับประทานเข้าไป โดยเฉพาะช่วงที่ขนมสัมปันนีละลายในปากไปพร้อม ๆ กับเนื้อไอศกรีมเป็นอะไรที่ฟินมาก ๆ
3. “ขนมกง” จับคู่กับ “ไอศกรีมรสเผือก”
เพื่ออรรถรสในการรับประทานแนะนำให้ตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอดีคำ แล้วค่อยตักกินกับไอศกรีมรสเผือกที่มีหวานมัน เนื้อของขนมกงช่วยเพิ่มมิติให้กับไอศกรีมรสเผือกให้มีรสชาติที่ดียิ่งขึ้น
4. “ทองโปร่ง” จับคู่กับ “ไอศกรีมรสรวมมิตร”
ทองโปร่งมีความคล้ายคลึงกับทองพลุตรงที่ด้านในโปร่งและมีรสชาติหวานจากน้ำตาลเคลือบอยู่ การได้ไอศกรีมรสรวมมิตรมารับประทานคู่กันช่วยให้ได้รสสัมผัสที่กลมกล่อมและมีเนื้อลอดช่องกับขนุนให้เคี้ยว
5. “พระพาย” จับคู่กับ “ไอศกรีมรสรวมมิตร”
ปิดท้ายการจับคู่ไอศกรีมรสรวมมิตรที่มีกลิ่นหอม ๆ ของกะทิ และมีเนื้อสัมผัสอย่างลอดช่อง และเนื้อขนุนรับประทานคู่กับพระพายขนมที่ขึ้นชื่อเรื่องความหอมของน้ำดอกมะลิเป็นการ mix & match ที่ดีและให้ความสุนทรีย์ในการกินได้เป็นอย่างดี
นอกจากขนมไทยโบราณหายากแล้ว ก็ยังสามารถนำขนมไทยอื่น ๆ อาทิเช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง หรือลูกชุบมาจับคู่กับความสนุก “ตัก เติม ตกแต่ง” กับไอศกรีมสมัยใหม่ รสชาติดีอย่างไอศกรีม วอลล์ เทคโฮม ไม่ว่าจะเป็น รสรวมมิตร รสเผือก หรือรสชาติไหน ๆ ก็ทั้งฟินทั้งคุ้มค่า และถูกใจทุกคนในครอบครัวแน่นอน หาซื้อได้ง่าย ๆ ที่ 7-11 ซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป
ข้อมูลอ้างอิง:
อรวสุ นพพรรค์. (2542). ขนมไทย.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
มณี ทองคํา. (2555). ตํารับขนมไทยชาววัง.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์สื่อสุขภาพ.
นลิน คูอมรพัฒนะ. (2553). เส้นทางขนมไทย กําเนิดและวิวัฒนาการขนมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึง ปัจจุบัน.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แสงแดด.
ขนมมงคลไทย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://cooking.kapook.com/dessert/thai-dessert. สืบค้น 12 เมษายน 2559.
ขนมไทยทั้งหมด. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.thaicookingrecipe.com/dessertall.html. สืบค้น 12 เมษายน 2559. อ่านต่อได้ที่ https://www.wongnai.com/food-tips/authentic-thai-dessert-you-should-know?ref=ct
cr.https://www.wongnai.com/food-tips/authentic-thai-dessert-you-should-know
5 ขนมไทยโบราณหายากที่คนรุ่นใหม่ควรรู้จัก
วงในอาสาพาเหล่าออเจ้าย้อนเวลาตามหาเรื่องราวขนมไทยโบราณหากินยาก อีกหนึ่งมรดกล้ำค่าของสยามประเทศที่คนรุ่นใหม่ควรรู้จัก
• 11 มิ.ย. 2018 · โดย Hearbest Tastegood
ถ้าพูดถึงขนมไทยโบราณหลายคนอาจจะเคยผ่านตาจากละครพีเรียดทางทีวี หรือลองลิ้มชิมรสความหอมหวานตามร้านขนมไทยมาบ้างแล้ว อาทิเช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมลูกชุบ และอื่น ๆ แต่รู้หรือไม่ว่านั่นเป็นเพียงบางส่วนของขนมไทยในสมัยโบราณเท่านั้น อันที่จริงยังมีขนมไทยโบราณอีกหลายชนิดที่เรียกได้ว่าเป็น rare item ที่หากินยากในสมัยนี้ บอกชื่อไปบางคนอาจจะไม่เคยได้ยินด้วยซ้ำ เอาล่ะ! วันนี้วงในจะพาเหล่าทุกคนเดินทางย้อนเวลาไปพบกับขนมไทยโบราณหากินยากกัน ณ บัดนี้
1เกร็ดน่ารู้ของ “ขนมไทยโบราณ”
ขนมไทยถือเป็นมรดกอันล้ำค่าที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยในอดีตไม่ใช่คนทั่วไปที่จะสามารถกินได้ แต่จะกินได้ก็ต่อเมื่อมีงานนักขัตฤกษ์ หรืองานบุญสำคัญเท่านั้น ขนมไทยโบราณแต่ดั้งเดิมจะมีส่วนประกอบหลักแค่ 3 อย่าง ได้แก่ แป้ง กะทิ และน้ำตาลปี๊บซึ่งเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นและมีวิธีการทำขนมที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การนึ่งและการต้ม
โดยในสมัยก่อนมีประเพณีที่มีชื่อเสียงและเกี่ยวข้องกับขนมไทยโบราณนั่นคือประเพณีกินสี่ถ้วย คือการกินขนมไทยกับกะทิเรียกกันว่า “ขนมสี่ถ้วย” จัดเสิร์ฟมาในสำรับเดียวกัน โดยกินกับน้ำกะทิอบควันเทียนเพื่อเพิ่มความหวานและกลิ่นหอมละมุน นิยมกินกันในงานมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานแต่งงาน เนื่องจากมีความหมายที่ดีงาม ประกอบไปด้วย
- ไข่กบ (เม็ดแมงลัก) หมายถึง มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง
- นกปล่อย (ลอดช่อง) หมายถึง มีความรักลื่นไหล ไม่มีอุปสรรค
- นางลอย (ข้าวตอก) หมายถึง ความรักที่อยู่ในกรอบของประเพณีที่ดีงาม
- อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียวดำ) หมายถึง ตัวแทนความรักที่หนักแน่น ไม่หวั่นไหว
กระทั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับขนมไทยอีกครั้ง โดยครั้งนี้ “มารี ตองกีมาร์” ชาวโปรตุเกส ได้นำเอาวิธีการทำขนมไทยในแบบฉบับของชาวตะวันตกเข้ามาประยุกต์กับการทำขนมไทย และนำเอา “ไข่ไก่” ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญเข้ามาใช้ด้วย ซึ่งทำให้ได้ขนมไทยที่มีสีเหลืองทองชวนรับประทาน ที่จึงเป็นเหตุผลที่ในยุคนี้มีขนมชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ชื่อเรียกว่า "ทอง" อยู่มากมาย ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองม้วน เป็นต้น
2ชนิดของ “ขนมไทยโบราณ” หายาก
อันที่จริงแล้วนอกจากขนมไทยหลายอย่างที่เรารู้จักกันดี ไม่ว่าจะเป็นทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมลูกชุบ และขนมไทยอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งสามารถหากินได้ในปัจจุบัน ยังมีขนมไทยโบราณอีกหลายชนิดที่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันทั้งในเรื่องของรูปลักษณ์และรสชาติ ซึ่งรับรองว่าหากเอ่ยชื่อขึ้นมาหลายคนอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนก็เป็นได้ และนี่คือ 5 ขนมไทยโบราณหายากที่คนรุ่นใหม่ควรรู้จักเอาไว้
1. ทองพลุ
เป็นขนมที่นิยมใช้ในพิธีมงคลต่าง ๆ โดยคำว่า “ทอง” หมายถึงของที่มีค่า ส่วนคำว่า “พลุ” หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง โดยดัดแปลงมาจากขนมเอแคลร์ของฝรั่งเศสที่ใช้วิธีการอบนั่นเอง ลักษณะของทองพลุจะเป็นก้อนกลมคล้ายหยดน้ำ สีเหลืองทอง ด้านในเป็นโพรง และมีผิวเรียบ สามารถใส่ไส้เพิ่มได้ ในปัจจุบันร้าน บ้านสุริยาศัย มีจัดจำหน่ายขนมทองพลุให้คนรุ่นใหม่ได้ลิ้มลอง
2. สัมปันนี
เป็นขนมมงคลใช้ในพิธีแต่งงาน โดยมีความหมายคือ การเป็นที่รัก เมื่อรับประทานเข้าไป เนื้อขนมจะละลายในปากมีรสหวานและหอมกลิ่นควันเทียน รูปร่างคล้ายดอกไม้มีสีสันสวยงาม มีทั้งสูตรกรอบและนุ่มให้เลือกรับประทาน และเช่นเดียวกับทองโปร่ง ขนมไทยโบราณชนิดนี้สามารถหาซื้อได้ที่ร้าน ขนมไทยเก้าพี่น้อง
3. ขนมกง
บางคนเรียกว่า “ขนมกงเกวียน” เป็นขนมไทยโบราณที่มีลักษณะเป็นวงกลมและมีเส้นพาดผ่านคล้ายกับล้อของเกวียน ซึ่งสื่อความหมายถึงการมีความเป็นอยู่อย่างเป็นสุข เปรียบเสมือนให้คู่บ่าวสาวได้ใช้ชีวิตเคียงข้างกันด้วยใจคอที่หนักแน่น มีความรักให้กันตลอดไปเหมือนกงล้อเกวียน และเปรียบได้กับธรรมจักร ขนมสามารถหาได้ที่ ร้านขนมบ้านพลอยหวาน
4. ทองโปร่ง หรือ ขนมหน้านวล
เป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณที่ดัดแปลงมาจากขนมโปรตุเกสในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นอีกหนึ่งขนมที่มีความหมายมงคลเช่นกัน ลักษณะของทองโปร่งคือ รูปทรงคล้ายเรือ มีสีเหลืองนวล กรอบนอก และด้านในต้องโปร่งมีฟองอากาศของน้ำตาลสีเหลืองอมส้ม เมื่อรับประทานใหม่ ๆ จะมีน้ำตาลเยิ้มออกมา สำหรับขนมทองโปร่ง หรือขนมหน้านวลนั้นในปัจจุบันก็ยังมีร้านขนมไทยชื่อดังอย่าง ขนมไทยเก้าพี่น้อง จำหน่ายอยู่
5. พระพาย
เป็นขนมที่ใช้ในพิธีแต่งงาน ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดกับนํ้าดอกมะลิ ใส่สีต่าง ๆ เพื่อหุ้มไส้ที่ประกอบด้วยถั่วเขียวเลาะเปลือกที่บดละเอียด ผสมกับกะทิ และนํ้าตาลปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เมื่อหุ้มเสร็จแล้วนํามาวางบนใบตองที่ตัดเป็นกลม ๆ เมื่อนึ่งสุกแล้ว พรมด้วยหัวกะทิ เชื่อกันว่าแป้งข้าวเหนียวที่ใช้หุ้มไส้ หมายถึงความเหนียวแน่นมั่นคง และความหวานของไส้คือความรักอันแสนหวาน โดยหาซื้อขนมชนิดนี้ได้จาก ร้านบ้านใน
3เคล็ดลับ “ตัก เติม ตกแต่ง” ไอศกรีมกินคู่ขนมไทยโบราณหายาก
ได้ทราบข้อมูลความเป็นมา พร้อมชนิดของขนมไทยโบราณหายากกันไปพอสังเขปแล้ว ทีนี้มาดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากนำไอศกรีมสมัยใหม่รสชาติไทย ๆ อย่างรสเผือก และรสรวมมิตรมา “ตัก เติม ตกแต่ง” คู่กับขนมไทยโบราณ หน้าตาและรสชาติจะเป็นอย่างไร แค่คิดก็สนุกแล้ว
1. “ทองพลุ” จับคู่กับ “ไอศกรีมรสรวมมิตร”
เป็นรสชาติที่ดีเกินคาด เหมือนได้กินไอศกรีมกับขนมเอแคลร์ของฝรั่งเศสยังไงอย่างงั้นเลย โดยไอศกรีมรวมมิตรจะช่วยเพิ่มรสสัมผัสที่ลงตัว และเติมเต็มไส้หวาน ๆ พร้อมเนื้อของลอดช่องและขนุนเพิ่มความหนุบหนับเคี้ยวเพลินทำให้ทองพลุมีรสชาติทีดียิ่งขึ้น
2. “สัมปันนี” จับคู่กับ “ไอศกรีมรสเผือก”
ด้วยรสชาติหวานและมีกลิ่นหอมของขนมสัมปันนี เมื่อนำมารวมกับไอศกรีมรสเผือกจะยิ่งช่วยเพิ่มความเข้มข้นและรสสัมผัสที่ดีให้กับขนมเมื่อรับประทานเข้าไป โดยเฉพาะช่วงที่ขนมสัมปันนีละลายในปากไปพร้อม ๆ กับเนื้อไอศกรีมเป็นอะไรที่ฟินมาก ๆ
3. “ขนมกง” จับคู่กับ “ไอศกรีมรสเผือก”
เพื่ออรรถรสในการรับประทานแนะนำให้ตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอดีคำ แล้วค่อยตักกินกับไอศกรีมรสเผือกที่มีหวานมัน เนื้อของขนมกงช่วยเพิ่มมิติให้กับไอศกรีมรสเผือกให้มีรสชาติที่ดียิ่งขึ้น
4. “ทองโปร่ง” จับคู่กับ “ไอศกรีมรสรวมมิตร”
ทองโปร่งมีความคล้ายคลึงกับทองพลุตรงที่ด้านในโปร่งและมีรสชาติหวานจากน้ำตาลเคลือบอยู่ การได้ไอศกรีมรสรวมมิตรมารับประทานคู่กันช่วยให้ได้รสสัมผัสที่กลมกล่อมและมีเนื้อลอดช่องกับขนุนให้เคี้ยว
5. “พระพาย” จับคู่กับ “ไอศกรีมรสรวมมิตร”
ปิดท้ายการจับคู่ไอศกรีมรสรวมมิตรที่มีกลิ่นหอม ๆ ของกะทิ และมีเนื้อสัมผัสอย่างลอดช่อง และเนื้อขนุนรับประทานคู่กับพระพายขนมที่ขึ้นชื่อเรื่องความหอมของน้ำดอกมะลิเป็นการ mix & match ที่ดีและให้ความสุนทรีย์ในการกินได้เป็นอย่างดี
นอกจากขนมไทยโบราณหายากแล้ว ก็ยังสามารถนำขนมไทยอื่น ๆ อาทิเช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง หรือลูกชุบมาจับคู่กับความสนุก “ตัก เติม ตกแต่ง” กับไอศกรีมสมัยใหม่ รสชาติดีอย่างไอศกรีม วอลล์ เทคโฮม ไม่ว่าจะเป็น รสรวมมิตร รสเผือก หรือรสชาติไหน ๆ ก็ทั้งฟินทั้งคุ้มค่า และถูกใจทุกคนในครอบครัวแน่นอน หาซื้อได้ง่าย ๆ ที่ 7-11 ซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป
ข้อมูลอ้างอิง:
อรวสุ นพพรรค์. (2542). ขนมไทย.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
มณี ทองคํา. (2555). ตํารับขนมไทยชาววัง.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์สื่อสุขภาพ.
นลิน คูอมรพัฒนะ. (2553). เส้นทางขนมไทย กําเนิดและวิวัฒนาการขนมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึง ปัจจุบัน.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แสงแดด.
ขนมมงคลไทย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://cooking.kapook.com/dessert/thai-dessert. สืบค้น 12 เมษายน 2559.
ขนมไทยทั้งหมด. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.thaicookingrecipe.com/dessertall.html. สืบค้น 12 เมษายน 2559. อ่านต่อได้ที่ https://www.wongnai.com/food-tips/authentic-thai-dessert-you-should-know?ref=ct
cr.https://www.wongnai.com/food-tips/authentic-thai-dessert-you-should-know
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น